บทความที่ได้รับความนิยม

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ไฟฟ้าเคมี

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ไฟฟ้าเคมี

สามารถนำความรู้เรื่องไฟฟ้าเคมีทั้งเซลล์กัลวานิกและเซลล์อิเล็กโทรไลต์ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลหะและสารละลายอิเล็กโทรไลต์ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. แบตเตอรี่อิเล็กโทรไลต์ของแข็ง
แบบเตอรี่อิเล็กโทรไลต์ของแข็ง (Solid electrolyte battery) เป็นเซลล์สะสมไฟฟ้าที่ใช้โลหะลิเทียมเป็นแอโนดและเทเนียมไดซัลไฟด์ (TiS2) เป็นแคโทด โดยอิเล็กโทรไลต์เป็นสารพวกพอลิเมอร์ จึงเรียกว่า อิเล็กโทรไลต์แข็ง ซึ่งมีสมบัติยอมให้ไอออนผ่านได้ดี แต่ไม่ยอมให้อิเล็กตรอนผ่าน
1.โลหะลิเทียมให้อิเล็กตรอนแล้วเปลี่ยนเป็น Li+ ผ่านอิเล็กโทรไลต์ไปยังแคโทด ซึ่งมี TiS2 ทำหน้าที่รับอิเล็กตรอนกลายเป็น TiS2– จากนั้น Li+ กับ TiS2– จะรวมกันเป็น LiTiS2 อิเล็กโทรไลต์แข็งจะเป็นฉนวนต่ออิเล็กตรอน จึงทำให้เซลล์ไฟฟ้านี้ใช้งานได้โดยไม่ลัดวงจร ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้

แอโนด : Li(s)  Li+(ในอิเล็กโทรไลต์แข็ง) + e–
แคโทด : TiS2(s) + e–  TiS2–(s)
ปฏิกิริยารวม : Li(s) + TiS2(s)   Li+ (ในอิเล็กโทรไลต์แข็ง) + TiS2–(s)

เซลล์ชนิดนี้มีศักย์ไฟฟ้าประมาณ 3 V และเป็นเซลล์ทุติยภูมิ ปัจจุบันมีการนำไปใช้กับรถยนต์ซึ่งมีข้อดีคือไม่ต้องเติมน้ำกลั่น แต่ราคายังแพงเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว
1.2 แบตเตอรี่อิเล็กโทรไลต์แข็งอีกชนิดหนึ่งใช้โลหะลิเทียมเป็นแอโนด และใช้โลหะออกไซด์ เช่น MnO2 หรือ V6O13 เป็นแคโทด ส่วนอิเล็กโทรไลต์เป็นพอลิเมอร์ที่ยอมให้ Li+ ผ่านได้ แต่อิเล็กตรอนผ่านไม่ได้ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเซลล์เป็นดังนี้
แอโนด : Li(s)        Li+(ในอิเล็กโทรไลต์แข็ง)   +   e
แคโทด : MnO2(s)   +   Li+ +   e–     LiMnO2(s)
ปฏิกิริยารวม : Li(s)   +   MnO2(s)     LiMnO2(s)
เซลล์ชนิดนี้มีศักย์ไฟฟ้าประมาณ 3 V และเป็นเซลล์ทุติยภูมิ ออกแบบให้มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เซลล์เล็กเท่าเม็ดกระดุมใช้กับเครื่องคิดเลขขนาดเล็ก นาฬิกา กล้องถ่ายรูป เซลล์ขนาดใหญ่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
2.  แบตเตอรี่อากาศ
รถยนต์ไฟฟ้าได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถเก็บสะสมปริมาณไฟฟ้าได้มากขึ้น แบตเตอรีอากาศเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งซึ่งใช้ออกซิเจนในอากาศเป็นตัวออกซิไดส์ ใช้โลหะ เช่น Znหรือ Al เป็นตัวรีดิวซ์ และอาจใช้สารละลาย NaOH เข้มข้นเป็นอิเล็กโทรไลต์




2.1 แบตเตอรี่อะลูมิเนียมอากาศ
ใช้ Al เป็นแอโนด เมื่อต่อเซลล์โลหะ Al จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ Al3+ แต่ในสารละลายมีความเข้มข้นของ OH มาก จึงเกิดไอออนเชิงซ้อนของ [Al(OH)4] ส่วนที่แคโทดซึ่งแท่งคาร์บอนเป็นขั้วไฟฟ้า แก๊สออกซิเจนและน้ำเกิดปฏิกิริยารีดักชันได้ OH ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเซลล์เป็นดังนี้
แอโนด : 4 {Al(s)   +   4 OH(aq)        [Al(OH)4](aq)   +   3e–
แคโทด : 3 {O2(g)   +   2H2O(l)   +   4e–      4OH(aq)
ปฏิกิริยารวม : 4Al(s) +  O2(s) + 6H2O(l) + 4OH(aq)    [Al(OH)4](aq)
จะเปลี่ยนไปเป็น Al(OH)3 เคลือบอะลูมิเนียม ดังนั้นหลังจากใช้งานในรถยนต์ได้ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร ต้องมีการกำจัดAl(OH)3เนื่องจาก Al(OH)3 เป็นฉนวนไฟฟ้า
2.2  แบตเตอรี่สังกะสีอากาศ
ใช้สังกะสีเป็นแอโนด ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเซลล์เป็นดังนี้
แอโนด : Zn(s)              Zn2+(aq)   +   2e–
แคโทด : O2(g)   +   2e–        O2–(g)
ปฏิกิริยารวม : Zn(s)  +   O2(g)          ZnO(s)
เมื่อนำแบตเตอรีไปประจุไฟ แก๊สออกซิเจนจะถูกปล่อยออกจากแบตเตอรี ส่วน ZnO จะถูกรีดิวซ์ไปเป็นสังกะสี
3.การทำอิเล็กโทรไดอะลิซิสน้ำทะเล


อิเล็กโทรไดอะลิซิส เป็นเซลล์อิเล็กโทรไลต์ที่ใช้แยกไอออนจากสารละลายโดยให้ไอออนเคลื่อนที่ผ่านเยื่อแลกเปลี่ยนไอออน ซึ่งเป็นเยื่อบาง ๆ ไปยังขั้วไฟฟ้าที่มีขั้วตรงกันข้าม สารละลายจึงมีความเข้มข้นลดลง ใช้หลักการนี้ในการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล

เมื่อผ่านน้ำทะเลเข้าทางช่อง A  B  และ C  ไอออนบวกในน้ำทะเลที่ผ่านเข้าทางช่อง B เช่น Na+ หรือ Mg2+ จะเคลื่อนที่ผ่านเยื่อแลกเปลี่ยนไอออนบวกเข้าหาขั้วลบ ส่วนไอออนลบ เช่นCl SO42– จะเคลื่อนที่ผ่านเยื่อแลกเปลี่ยนไอออนลบเข้าหาขั้วบวก ดังนั้นน้ำที่ไหลออกทางช่อง B จึงมีไอออนน้อยลง และถ้าไม่มี Na+ ไม่มี น้ำที่ผ่านออกทางช่อง B จึงเป็นน้ำจืด
อุปกรณ์ทำอิเล็กโทรไดอะลิซิสน้ำทะเล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น